Tuesday, February 20, 2007

ลักษณะของ wrieless

การขยายพื้นที่ขอบเขตแลนไร้สายให้กว้างขึ้น

การพัฒนาแลนไร้สายมิได้หยุดอยู่เพียงแค่การทำให้เชื่อมต่อถึงกันได้เท่านั้น ระบบการดูแลรักษาความปลอดภัยของสัญญาณข้อมูลที่แพร่ กระจายในอากาศมีการวางมาตรฐานทางด้านเอ็นคริปชัน และการสร้างระบบดูแลรักษาความปลอดภัยการเข้าถึง มีการพัฒนาระบบการเคลื่อนย้าย เข้าสู่เครือข่ายหนึ่งไปอีกเครือข่ายหนึ่ง หรือที่เรียกว่าโรมมิง (Roaming) มีการแบ่งโหลดระหว่างเซล โดยการตรวจสอบความแรงของสัญญาณเพื่อ ให้ขนาดของพื้นที่ทับซ้อนกันได้





รูปที่ 4 การทำโรมมิงระหว่างเซลเพื่อให้ผู้ใช้เคลื่อนย้ายได้


พื้นฐานทางเทคนิคของระบบแลนไร้สาย
การสื่อสารด้วยคลื่นวิทยุเป็นที่รู้จักและมีพัฒนาการมาเกือบร้อยปีแล้ว การจัดส่งสัญญาณคลื่นวิทยุในยุคแรกเป็นการกระจายสัญญาณ ต่อมา มีการสื่อสารแบบจุดไปจุด และเริ่มมีการวางโครงร่างเพื่อใช้คลื่นสัญญาณวิทยุกับมวลชนโดยเฉพาะเรื่องโทรศัพท์มือถือ การนำข้อมูลแฝงไปในคลื่นวิทยุซึ่งเป็นวิธีการที่รู้จักกันดี ตั้งแต่การมอดูเลตทางความถี่ทางแอมปลิจูดและทางเฟส ปัจจุบันมีเทคนิคอีกมากมาย เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการบรรจุข้อมูลลงในแถบสัญญาณที่รับส่ง การสื่อสารในอดีตต้องได้รับอนุญาตให้ใช้ความถี่ มีการจัดสรรความถี่ให้ใช้งานเฉพาะความถี่วิทยุมีขอบเขตจำกัด จึงมีการระบุความถี่ให้ใช้งาน เช่น การส่งวิทยุสื่อสาร โทรทัศน์ โทรศัพท์เคลื่อนที่ ในปัจจุบันมีการกำหนดคลื่นความถี่สาธารณะ หรือที่เรียกว่า Unlicense Band คลื่นความถี่นี้เป็นคลื่นความถี่ที่ใช้เฉพาะในวงพื้นที่แคบ ๆ เพื่อลด การกวนระหว่างกัน Unlicense band จึงเป็นย่านที่ได้รับการนำมาใช้ในระบบแลนไร้สาย ซึ่งได้แก่ความถี่ 900 เมกะเฮิรตช์ 2.4 กิกะเฮิรตช์ และ 5.6 กิกะเฮิรตช์ ระบบแลนไร้สายในยุคแรกใช้ความถี่ 900 เมกะเฮิรตช์ และต่อมาใช้ความถี่ 2.4 กิกะเฮิรตช์ ในอนาคตอันใกล้จะใช้ที่ความถี่5.5กิกะเฮิรตช์
การใช้ความถี่ให้คุ้มค่า
การออกแบบระบบแลนไร้สายในย่านความถี่สูงระดับไมโครเวฟนี้ จึงเน้นการสร้างเครือข่ายเฉพาะกิจ และการสร้างพื้นที่ครอบคลุมขนาดเล็ก ขณะเดียวกันก็มีการสร้างเครือข่ายระหว่างจุดไปจุดด้วย ปกติการออกแบบใช้ความถี่ของแลนไร้สายนี้ เน้นใช้เทคโนโลยีแบบแถบแคบ (narrow band) คือ ใช้ความถี่ย่าน 2.802 ถึง 2.483 โดยภายในสามารถปรับแต่งให้ใช้ความถี่ย่อยได้ 10 ช่อง เพื่อไม่ให้กวนกัน หรือหลักพื้นที่กัน
เพื่อให้ระบบไม่ถูกรบกวนจากสัญญาณภายนอก จึงมีการใช้เทคนิคการป้องกันการรบกวนจากภายนอก เทคนิคเหล่านี้เป็นเทคนิคที่นำมาจาก หลักการควบคุมขีปนาวุธ ซึ่งอาจถูกข้าศึกส่งสัญญาณรบกวนได้ ระบบในแลนไร้สายใช้หลักการที่ชื่อ direct Sequence Spread Spectrum กล่าวคือ หากถูกรบกวนสัญญาณก็จะมีระบบตรวจสอบและแก้ไขข้อผิดพลาดได้เองโดยอัตโนมัติ อีกทั้งระบบแลนไร้สายยังใช้ระบบการโต้ตอบสัญญาณ ระหว่างกัน เพื่อการตรวจเช็คระบบ
ในการวางระบบแลนไร้สายจึงต้องเลือกช่องสัญญาณในการกระจายคลื่นความถี่ เพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่ สำหรับตัวไคลเอนต์จะปรับเข้าหาความถี่ หลักได้เองโดยอัตโนมัติ
ปกติพื้นที่การครอบคลุมของแลนไร้สายจะมีระยะประมาณ 10 เมตร ในระยะตรงที่แน่นอน แต่หากสัญญาณห่างและความอ่อนของสัญญาณลดลง ความเร็วในการรับส่งจะปรับตัวลงเหลือ 5.6 เมกะบิต และ 2 เมกะบิตต่อวินาที ตามลำดับ

การใช้งานของระบบแลนไร้สาย

เทคโนโลยีเน้นความคล่องตัว จากพีซีตั้งโต๊ะก็กลายเป็นแลปท้อป โน้ตบุ๊ค ปาล์ม และกำลังเป็นคอมพิวเตอร์แบบพกพาที่ประยุกต์ใช้งาน กว้างขวางขึ้นจากระบบโทรศัพท์หรือระบบสื่อสารก็กำลังกลายเป็นโมบายเป็นโทรศัพท์แบบพกพาติดตัว (พีซีที)
การใช้งานเน้นความสะดวก ระบบโมบายคอมพิวติ้ง ทำให้การทำธุรกิจนอกองค์กรเกิดขึ้นได้ ระบบโมบายนำระบบข้อมูลผสมกับเสียงและ กำลังก้าวเข้าสู่อินเทอร์เน็ตทำให้เราเรียกเข้าหาอินเทอร์เน็ตเป็นแบบ any time any where และ any one



รูปที่ 5 การออกแบบแลนไร้สายให้คลุมพื้นที่ขนาดใหญ่

สิ่งที่น่าสนใจในเรื่องเทคโนโลยีคือระบบไร้สาย (Wireless) ระบบไร้สายทำให้อีคอมเมิร์ซ (Electronic Commerce) กลายมาเป็นเอ็มคอมเมิร์ซ (Mobile Commerce) เป็นการทำธุรกรรมผ่านระบบไร้สาย เช่น ใช้โทรศัพท์มือถือ ใช้ Wireless LAN ใช้ปาล์มท้อป การดำเนินธุรกิจทำได้กว้างขวาง เช่น การติดต่อสื่อสารอีเมล์ส่งข้อมูล ใช้เป็นการติดต่อผ่านระบบสื่อสารเพื่อทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ เช่น จ่ายค่าสาธารณูปโภค จองตั๋ว ซื้อสินค้า ฯลฯ
การใช้ระบบไร้สายสำหรับอินเทอร์เน็ตหรือที่เรียกว่า Wireless IP กำลังเป็นเส้นทางการพัฒนาที่สำคัญมีการพัฒนาให้ระบบโทรศัพท์มือถือใช้ โปรโตคอล IP พัฒนาระบบแลน อีเทอร์เน็ต แบบไร้สายตามมาตรฐาน IEEE802.11 ซึ่งสามารถใช้ระบบไร้สายที่ความเร็วถึง 11 เมกะบิตต่อวินาที
โครงสร้างของระบบไร้สาย มีลักษณะเหมือนเครือข่ายแลนทั่วไป กล่าวคือมีระบบแลนเซิร์ฟเวอร์ ซึ่งเป็น DHCP - Dynamic Host Configuration Protocol เป็นตัวกลางที่ทำให้คอมพิวเตอร์ไคลเอนต์ต่าง ๆ ติดต่อได้ DHCP เซิร์ฟเวอร์จึงเปรียบเสมือนศูนย์กลางของเซลที่ทำหน้าที่ติดต่อกับเครื่อง ลูกค้าคล้ายระบบพีซีที DHCP จะจ่ายหมายเลข IP ให้กับเครื่องลูกและติดต่อสื่อสารกันได้ โดยเครื่องลูกจะเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตผ่าน DHCP เข้าสู่ อินเทอร์เน็ต
ระบบไร้สายเป็นระบบสร้างความสะดวกให้กับผู้ใช้ เพราะผู้ใช้สามารถเคลื่อนที่และยังสามารถใช้งานที่ใดก็ได้ โดยต้องอยู่ในเซลที่ DHCP ส่ง สัญญาณไปถึงลักษณะนี้จึงทำให้สร้างเซลในองค์กร และให้บุคลากรในองค์กรใช้ผ่านระบบไร้สายนี้ได้

พัฒนาการร่วมกับระบบโทรศัพท์เซลลูลาร์ (Wireless Application Protocol)

เพื่อให้ระบบโทรศัพท์มือถือและปาล์มท้อป ที่มีจอภาพขนาดเล็กเชื่อมต่อและเรียกใช้งานบนเครือข่ายได้ จึงมีการสร้างโปรโตคอลให้รองรับ การประยุกต์ใช้งานกับโทรศัพท์มือถือ เราเรียกโปรโตคอลใหม่นี้ว่า WAP-Wireless Application Protocol
WAP เป็นโปรโตคอลการประยุกต์แบบเดียวกับ http ที่ใช้กับ www โดยเน้นให้ WAP เป็นมาตรฐานเปิด มีการเชื่อมโยงกันได้ทั่วโลกและต้อง ไม่ใช้กับอุปกรณ์ เพราะสามารถใช้ได้ทั้งคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์มือถือ
ลักษณะของ WAP มีโปรโตคอลที่ทำให้เครื่องไคลเอนต์วิ่งเข้าหาเซิร์ฟเวอร์ได้เหมือนการใช้อินเทอร์เน็ต โดยเซิร์ฟเวอร์อยู่บนอินเทอร์เน็ต และใช้บนโปรโตคอล TCP/IP การใช้ WAP จึงเป็น โปรโตคอลที่วิ่งไปบน IP เหมือนกับการใช้งานอินเทอร์เน็ตทั่วไป และใช้ร่วมกับการประยุกต์อื่นได้ โมเดลการใช้งาน WAP เขียนเป็นรูปภาพได้ดังนี้
การพัฒนาระบบ WAP เซิร์ฟเวอร์จึงเหมือนกับ WWW หรือเว็บเซิร์ฟเวอร์ แต่การจัดสร้างข้อมูลเน้นให้เรียกใช้ผ่านจอขนาดเล็กของระบบมือถือ ได้ ดังนั้นจึงต้องสร้างโปรโตคอลพิเศษ แต่เพื่อให้การทำงานร่วมกันระหว่าง WAP กับ WWW จึงมีการสร้างส่วนของมาตรฐานพิเศษที่เรียกว่า XML- Extended Marked Up Language เพื่อใช้กำหนดข้อมูลบนเว็บและมีตัวแปลที่เรียกว่า XSL - Extended Style Language เป็นตัวแปรเพื่อใช้กับระบบ คอมพิวเตอร์ ซึ่งใช้เงื่อนไขต่างกันคือใช้ WML-Wap Marked Up Language หรือ HTML ในอนาคตอันใกล้ระบบคอมพิวเตอร์พีซี โน้ตบุ๊ค โทรศัพท์มือถือ และปาล์ม ต้องเข้ามาร่วมวงกับอินเทอร์เน็ต ในระบบไร้สายและใช้เซิร์ฟเวอร์ กลุ่ม WWW ตัวเดียวกัน ขอบเขตการใช้งานจึงกว้างขวางขึ้น

อนาคตของแลนไร้สาย

แลนไร้สายเป็นระบบที่มีความหวังที่จะทำให้ทุกคนเข้าถึงเครือข่ายได้ในทุกพื้นที่และง่ายต่อการใช้งาน ก็คงต้องให้ราคาลดลงอีกสักหน่อย เราคงได้เห็นความแพร่หลายของการใช้งาน

ข้อดีและข้อเสียของ wireless


ข้อดีข้อเสียของ Wireless LAN

ข้อดีของ Wireless LAN
1. mobility improves productivity & service มีความคล่องตัวสูง ดังนั้นไม่ว่าเราจะเคลื่อนที่ไปที่ ไหน หรือเคลื่อนย้ายคอมพิวเตอร์ไปตําแหน่งใด ก็ยังมีการเชื่อมต่อ กับเครือข่ายตลอดเวลา ตราบ ใดที่ยังอยู่ในระยะการส่งข้อมูล
2. installation speed and simplicity สามารถติดตั้งได้ง่ายและรวดเร็ว เพราะไม่ต่องเสียเวลาติดตั้ง สายเคเบิล และไม่รกรุงรัง
3. installation flexibility สามารถขยายระบบเครือข่ายได้ง่าย เพราะเพียงแค่มี พีซการ์ดมาต่อเข้ากับ โน้ตบุ๊ค หรือพีซี ก็เข้าสู่เครือข่ายได้ทันที
4. reduced cost- of-ownership ลดค้าใช้จ่ายโดยรวม ที่ผู้ลงทุนต่องลงทุน ซึ่งมีราคาสูง เพราะใน ระยะยาวแล้ว ระบบเครือข่ายไร้สายไม่จําเป็นต่องเสียค้าบํารุงรักษา และการขยายเครือข่ายก็ลงทุน น?อยกว่าเดิมหลายเท่า เนื่องด้วยความง่ายในการติดตั้ง
5. scalability เครือข่ายไร้สายทําให้องค์กรสามารถปรับขนาดและความเหมาะสมได้ง่ายไม่ยุ่งยาก เพราะสามารถโยกย้ายตําแหน่งการใช้งาน โดยเฉพาะระบบที่มีการเชื่อมระหว่างจุดต่อจุด เช่น ระหว่างตึก

ข้อเสียของ Wireless LAN
1. อาจมีผู้มาใช้ Internet ฟรีได้ ถ้าผู้อื่นทราบ IP address ของเรา
2. Security การเชื่อมต่อกับเครือข่ายไร้สาย เราต่อพิจารณาถึงเรื่องการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล ซึ่งถึงว่าเป็นเรื่องที่ สําคัญมากยิ่งกว่าในกรณีของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ใช้สายต่อทั่วไป เนื่องจากการเปิดกว้างของเครือข่ายซึ่งผู้ใดก็ตาม ที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้งอุปกรณ์ NIC ต่างก็มีโอกาสเชื่อมต่อเข้าสู่ระบบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ได้เท่าเทียมกัน ไม่ว่าจะเป็นเครือข่ายที่ตั้งใจเปิดให้บริการกับสาธารณะไปจนถึงเครือข่ายเฉพาะองค์กร เครือข่าย LAN ทั่วไปที่ใช้สาย สัญญาณในการเชื่อมต่อจะมีความปลอดภัยมากกว่าเนื่องจากผู้ดูแลระบบสามารถควบคุมพอร์ตเชื่อมต่อได้ตามความ ต้องการ ดังนั้นจึงมีการวางข้อกําหนดต่างๆ ขึ้นสําหรับเครือข่ายไร้สาย โดยมีจุดประสงค์เพื่อปีองกันการลักลอบจาร กรรมข้อมูลภายในเครือข่ายส่วนบุคคล แนวทางในการรักษาความปลอดภัยที่สามารถเลือกใช้ได้มีอยู่หลายประการ ด้วยกันใช้ขีดความสามารถของมาตรฐาน IEEE 802.11 โดยจํากัดการติดต่อเข้าสู่ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ให้กับ เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง ทั้งนี้พิจารณาจากเลขหมาย SSID (Service Set Identifier) ร่วมกับแอดเดรส MAC (Media Access Control) นอกจากนั้นยังสามารถใช้คุณสมบัติ WEP (Wired Equivalent Privacy) รายละเอียดโดย คร่าวๆ ของการรักษาความปลอดภัยในลักษณะนี้ก็คือการกําหนดระดับการรักษาความปลอดภัยให้กับอุปกรณ์ AP(Access Point) แต่ละชุดโดยอ้างอิงแอดเดรส MAC ซึ่งเป็นหมายเลขเฉพาะที่ถูกกําหนดตายตัวให้กับอุปกรณ์สื่อ สารต่างๆ บนเครือข่าย LAN โดยผู้ผลิตอุปกรณ์